[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 21 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน


  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
วิกฤติ “ปะการังอ่อน” เร่งขยายพันธุ์ก่อนไม่เหลือ  VIEW : 253    
โดย 123

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 424
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 16
Exp : 68%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 180.180.14.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 เวลา 08:17:32    ปักหมุดและแบ่งปัน

วิกฤติ “ปะการังอ่อน” เร่งขยายพันธุ์ก่อนไม่เหลือ สร้างสมดุลระบบนิเวศใต้ทะเล

จุฬาฯ วิจัยเพาะขยายพันธุ์ปะการังอ่อนก่อนสูญพันธุ์ หลังจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
เร่งผลักดัน “ปะการังอ่อน” สัตว์ทะเลเศรษฐกิจประเภทสวยงามชนิดใหม่สำหรับ “ธุรกิจปลาตู้น้ำทะเล”
ความหวังท้องทะเล เพาะขยายพันธุ์ปะการังอ่อน 3 ชนิดสำเร็จ
ในท้องทะเล “แนวประการัง” ถือเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญและเป็นแหล่งอาศัย แหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิดๆ แต่ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมของมนุษย์ สภาวะโลกร้อน อุณหภูมิของมหาสมุทรที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ล้วนส่งผลกระทบต่อปะการังทั่วโลก ทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมลง

โดยเฉพาะ “ปะการังอ่อน” หรือ “Soft Coral” ถือเป็นปะการังที่มีความสวยงามและดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศจากทั่วโลกเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ความแปรปรวนของภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน รวมถึงการคุกคามจากมนุษย์ด้วยกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้จำนวนชนิดและความสมบูรณ์ของปะการังอ่อนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก

ทั้งนี้ “ปะการัง” แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปะการังแข็ง ซึ่งมีโครงสร้างหินปูนและมีปะการังเติบโตขึ้นมา อีกประเภทหนึ่งคือ ปะการังอ่อน ซึ่งไม่มีโครงสร้างหินปูน ทั้งปะการังอ่อนและปะการังแข็งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เมื่อปะการังทั้งสองประเภทเจริญเติบโตจะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิด ทำให้ทะเลเกิดความสมบูรณ์และความหลากหลาย เป็นแหล่งของนักดำน้ำดูปะการัง รวมทั้งมีความสำคัญต่อการประมงพื้นบ้าน

ผลักดัน “ปะการังอ่อน” เป็นสัตว์ทะเลเศรษฐกิจ

สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์และเลี้ยงปะการังอ่อนด้วยระบบการทำฟาร์มบนบกและในทะเล เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งที่เสื่อมโทรมในประเทศไทย รวมทั้งมุ่งหวังพัฒนาให้เป็นสัตว์ทะเลเศรษฐกิจประเภทสวยงามชนิดใหม่สำหรับ “ธุรกิจปลาตู้น้ำทะเล” ที่ถูกต้องตามกฎหมายทั้งการจำหน่ายภายในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ปะการังอ่อน ยังมีประโยชน์ทางการแพทย์อีกด้วย มีรายงานว่า ปะการังอ่อนบางชนิดเมื่อนำมาสกัดแล้วจะได้สารบางชนิดที่ยับยั้งเซลล์เนื้องอกและเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยขั้นต่อยอดโดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ เกี่ยวกับองค์ประกอบทางชีวเคมีในปะการังอ่อนทั้งสามชนิดคือ ปะการังอ่อนหนังดอกเห็ด ปะการังอ่อนนิ้วมือ และปะการังอ่อนนิ้วมือสีดำ

ผศ.ดร.นิลนาจ ชัยธนาวิสุทธิ์ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นของการศึกษาวิจัยการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน เพื่อใช้ประโยชน์เชิงการค้าและการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลของไทยมีที่มาจากการที่ปะการังอ่อนทุกชนิดเป็นสัตว์คุ้มครองตามกฎหมาย ห้ามเก็บจากทะเล ห้ามซื้อขาย และห้ามมีไว้ครอบครอง ความสวยงามของปะการังอ่อนส่งผลต่อความต้องการของธุรกิจปลาตู้น้ำทะเลสวยงามและบ่อเลี้ยงสัตว์ทะเล ทำให้มีการลักลอบเก็บปะการังอ่อนจากทะเล รวมทั้งมีการนำเข้าจากต่างประเทศ

นอกจากนี้ จากงานวิจัยยังพบว่า แหล่งท่องเที่ยวทุกแห่งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีประชากรปะการังอ่อนทุกชนิดน้อยมาก ทั้งในแง่ความหลากหลายและความหนาแน่น

“ปัจจุบันจำนวนของปะการังอ่อนลดลงในทุกพื้นที่ หากไม่ทำอะไรเลย แนวโน้มที่ปะการังอ่อนจะสูญพันธุ์ก็ใกล้เข้ามาทุกที หากเราสามารถเพาะขยายพันธุ์ปะการังอ่อนได้ จะช่วยให้มีพันธุ์ปะการังอ่อนและขยายพันธุ์คืนสู่ธรรมชาติได้”

ความหวังใหม่ เพาะขยายพันธุ์ปะการังอ่อน 3 ชนิดสำเร็จ
สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ ได้รับอนุญาตจากกรมประมงให้นำปะการังอ่อนที่พบที่เกาะสีชัง มาใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ขณะนี้ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปะการังอ่อน 3 ชนิด คือ ปะการังอ่อนหนังดอกเห็ด ปะการังอ่อนนิ้วมือ และปะการังอ่อนนิ้วมือสีดำ โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

ทั้งนี้ การเพาะขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ ได้นำพ่อแม่พันธุ์ปะการังอ่อนจากทะเล มาเพาะเลี้ยงในบ่อและกระตุ้นให้มีการปล่อยไข่และสเปิร์มเพื่อนำมาผสมพันธุ์ จากนั้นเพาะเลี้ยงอนุบาลจนเป็นตัวอ่อนและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งพบว่าปะการังอ่อนทั้งสามชนิด เจริญเติบโตได้ดี สำหรับการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ หรือการแตกหน่อ

ผศ.ดร.นิลนาจ เผยว่า ทีมวิจัยได้ใช้เทคนิคพิเศษในการตัดเนื้อเยื่อจากพ่อแม่พันธุ์ชิ้นเล็กที่สุดเพียง 0.5-1 ซม. และนำชิ้นเนื้อมาเลี้ยงในบ่อ เป็นการเลี้ยงในลักษณะฟาร์มบนบก โดยมีการควบคุมปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งพบว่าชิ้นเนื้อปะการังดังกล่าวสามารถเจริญเติบโตจนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ภายใน 1 ปี

ทั้งนี้ ปะการังอ่อนจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าปะการังแข็ง เนื่องจากไม่ต้องสร้างโครงสร้างหินปูนภายในถือเป็นความสำเร็จของทีมวิจัยที่พัฒนาเทคนิคการตัดชิ้นเนื้อปะการังอ่อนมาเพาะเลี้ยงต่อได้ โดยที่พ่อแม่พันธุ์ไม่ตาย ที่สำคัญคือ เมื่อชิ้นเนื้อของปะการังอ่อนในพ่อแม่พันธุ์ที่ถูกตัดไปเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ ก็สามารถตัดเพื่อนำไปเพาะขยายพันธุ์ได้อีกวิกฤติ "ปะการังอ่อน" เร่งขยายพันธุ์ก่อนไม่เหลือ สร้างสมดุลระบบนิเวศใต้ทะเล

ปะการังอ่อน ตัวช่วยลดโลกร้อน

ผศ.ดร.นิลนาจ กล่าวย้ำว่า จากปัญหาโลกร้อนซึ่งทำให้เกิดปัญหาปะการังฟอกขาว ปะการังอ่อนจะมีสาหร่ายตัวหนึ่งที่อยู่ในเนื้อเยื่อซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหาร หรือพลังงานทั้งหมดประมาณ 80% ของปะการังอ่อนได้จากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายตัวนี้ ดังนั้นถ้าเราขยายพันธุ์ หรือฟื้นฟูปะการังอ่อนในทะเลให้มีจำนวนมาก จะมีส่วนช่วยเรื่องของโลกร้อน สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำและในอากาศได้

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยทางด้านปะการังอ่อนจำเป็นต้องใช้ความรู้ในหลายศาสตร์มาบูรณาการร่วมกัน ศูนย์เรียนรู้ธนาคารสัตว์ทะเลเกาะสีชังโดยชุมชนเพื่อชุมชนยั่งยืน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการทำฟาร์มต้นแบบการขยายพันธุ์ปะการังอ่อนแบบการทำฟาร์มบนบก พร้อมทั้งเปิดโอกาสแก่นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการขยายพันธุ์ปะการังอ่อน ที่ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี อีกด้วย.

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.thairath.co.th


ติดตามข่าวสาร ได้ที่  : thaigoodherbal.com





ปั้มไลค์ราคาถูกปั้มไลค์ราคาถูกเม้นโพสnew-like.comปั้มวิวเพิ่มผู้ติดตามเพิ่มการเข้า้ถึงcybersafenetflix ราคาถูกปั้มไลค์ขายยูทูปพรีเมี่ยม